วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559

สงครามเวียดนาม

สงครามเวียดนาม
กองทัพฝรั่งเศสพยายามรักษาที่มั่นของตนในอินโดจีนอย่างสุดกำลัง และเวียดนามก็คือปัญหาใหญ่ต่อความมั่นคงของอำนาจฝรั่งเศสในอินโดจีน
ทั้งนี้นับแต่กองกำลังกู้ชาติของเวียดนามประกาศสงครามกับฝรั่งเศส ในวันที่ 19 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1946 สถานการณ์สู้รบระหว่างสองฝ่ายก็ดำเนินมาอย่างรุนแรง ทว่าฝรั่งเศสได้ตกเป็นฝ่ายเพลี้ยงพล้ำมาโดยตลอดจนสูญเสียดินแดนส่วนใหญ่ทางเหนือของเวียดนามให้กับฝ่ายกู้ชาติ
ความพยายามสุดท้ายของฝรั่งเศสที่จะเอาชนะกองกำลังกู้ชาติของเวียดนามเกิดขึ้นที่ เมืองเดียนเบียนฟู ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม ซึ่งหากฝรั่งเศสเอาชนะในการบครั้งนี้ได้ ก็จะสามารถพลิกสถานการณ์กลับมาเป็นฝ่ายได้เปรียบได้
นายพล นาวาร์ แม่ทัพฝรั่งเศสได้รวบรวมกำลังพลถึง 22 กองพล พร้อมอาวุธหนักและเฮลิคอปเตอร์ติดปืนกล เข้าประจำฐานที่มั่นในเดียนเบียนฟู โดยอาวุธจำนวนมากได้รับการสนับสนุนมาจากรัฐบาลอเมริกันพันธมิตรของตน
ในเวลานั้นกองทัพกู้ชาติเวียดนามซึ่งได้รับความช่วยเหลือด้านอาวุธและเสบียงจากจีนคอมมิวนิสต์ ได้เคลื่อนกำลังเข้าโจมตีที่มั่นของฝรั่งเศส โดยกองกำลังผสมของเวียดนามและจีนได้ส่งทหารหน่วยปืนใหญ่ขึ้นไปบนเขา จากนั้นในวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1954 การรบก็เริ่มขึ้น และดำเนินต่อเนื่องอย่างดุเดือดถึง 55 วัน จนถึงวันที่ 7 พฤษภาคม ปี ค.ศ. 1954  เดียนเบียนฟูก็แตก
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สงครามเวียดนาม
ความพ่ายแพ้ที่เดียนเบียนฟู ทำให้ฝรั่งเศสสูญเสียอำนาจทางทหารในเวียดนามไปจนหมด ทางรัฐบาลฝรั่งเศสจึงยอมเปิดการเจรจากับโฮจิมินห์ที่กรุงเจนีวา ในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1954
ในการประชุมที่เจนีวา มีตัวแทนเข้าร่วมประชุมจาก 9 ประเทศด้วยกัน คือ ฝ่ายเวียดนามเหนือ ลาว กัมพูชา จีน โซเวียตฝรั่งเศส อังกฤษ อเมริกา และ ตัวแทนจากจักรพรรดิเบาได๋ของเวียดนามใต้ ทว่าในการประชุมครั้งแรกนั้น ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจาก นาย อัลแลน ดัลเลส ตัวแทนจากสหรัฐ ได้คัดค้านการที่จะให้เวียตนามได้รับเอกราชอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงทำให้การประชุมเกิดความยากลำบากขึ้น

ต่อมาในวันที่ 8 มิถุนายน ฝ่ายของโฮจิมินห์ได้ยื่นข้อเสนอที่ผ่อนปรนต่อที่ประชุม โดยทางเวียดนามเหนือจะยอมให้เวียดนามแยกเป็นเหนือและใต้ในระยะชั่วคราว ทั้งๆ ที่ในเวลานั้น ฝ่ายเวียดนามเหนือสามารถครอบครองดินแดนได้ถึง 3 ใน 4 ของทั้งประเทศ ทั้งนี้เงื่อนไขผ่อนปรนดังกล่าวมีอยู่ว่า เวียดนามจะแบ่งเป็นสองส่วนโดยใช้เส้นขนานที่ 17 เป็นเส้นแบ่ง แต่ไม่ถือว่าการแบ่งครั้งนี้ เป็นการแยกประเทศอย่างถาวร จากนั้นภายในสองปีจะมีการกำหนดให้เลือกตั้งทั่วประเทศเพื่อความเป็นเอกภาพของเวียดนาม และภายในระยะเวลาก่อนการเลือกตั้งนั้น ทั้งเวียดนามเหนือและใต้จะต้องไม่เข้าเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศใดๆ หรือ ยอมรับความช่วยเหลือทางการทหารจากต่างประเทศ
ข้อเสนอดังกล่าวได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายที่เข้าร่วมประชุม ยกเว้น ฝ่ายของจักรพรรดิเบาได๋ และสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดี ทางสหรัฐได้ประกาศรับรองว่า จะไม่ทำการใดๆ ในอันที่จะทำลายข้อตกลงนี้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ngo dinh diem

Ngo Dinh Diem ประธานาธิบดีคนแรกของประเทศเวียดนามใต้

ทว่าเมื่อถึงวันที่ 20 กรกฏาคม ค.ศ. 1955 ซึ่งตามข้อตกลงเวนีวานั้น จะมีการเจรจากันเพื่อกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป และรวมเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้เข้าเป็นประเทศเดียวกัน ทว่า โงดินเดียมห์ นายกรัฐมนตรีของเวียดนามใต้ ได้ปฎิเสธการเจรจาโดยมีอเมริกาให้การหนุนหลังอย่างออกหน้า จากนั้นในเดือนตุลาคม ปีเดียวกันนั้น โงดินเดียมห์ก็ขับไล่จักรพรรดิเบาได๋ออกนอกประเทศและตั้งตนเป็นประธานาธิบดีของเวียดนามใต้ พร้อมกันนั้นก็เร่งสร้างกองทัพและสะสมอาวุธ โดยได้รับความช่วยเหลืออย่างเต็มที่จากสหรัฐอเมริกา
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ชาวเวียดนามจำนวนมากในเวียดนามใต้ไม่พอใจและทำการคัดค้าน ทว่า โงดินเดียมห์ ได้ปราบปรามผู้ต่อต้านอย่างรุนแรง มีประชาชนถูกสังหารไปนับหมื่น ซึ่งทางเวียตนามเหนือก็ได้ประท้วงการกระทำของฝ่ายเวียดนามใต้อย่างแข็งขัน แต่ก็ไม่เป็นผล ดังนั้นประชาชนเวียดนามใต้จึงตั้งแนวร่วมปลดปล่อยประชาชาติเวียดนามขึ้นและจัดตั้งกองทหารเพื่อป้องกันตัวเองจากอำนาจรัฐและดำเนินการต่อสู้กับรัฐบาลของโงดินเดียมห์ ในวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งฝ่ายตะวันตกเรียกแนวร่วมเหล่านี้ว่า
”เวียดกง” จากนั้น สงครามเวียดนาม ก็ระเบิดขึ้น โดยฝ่ายเวียดนามเหนือตัดสินใจใช้กำลังทหารทำสงครามเพื่อรวมประเทศเข้าด้วยกัน
ในปี ค.ศ. 1961 เนื่องจากทราบว่า เวียดนามเหนือซึ่งโน้มเอียงไปทางฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้รับความช่วยเหลือจากจีนและโซเวียต สหรัฐอเมริกาจึงได้เพิ่มความช่วยเหลือทางทหารให้กับเวียดนามใต้อีกหลายเท่า ทำให้การสู้รบในเวียดนามดุเดือดรุนแรงยิ่งขึ้น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สงครามเวียดนามภายใต้การปกครองของโงดินเดียมห์ การฉ้อราษฎรบังหลวงได้เป็นไปอย่างกว้างขวาง ทั้งยังมีตำรวจลับของรัฐบาลที่คอยคุกคามความปลอดภัยของประชาชน ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนและทุกข์ยากจนไม่อาจทนได้ กาประท้วงอย่างรุนแรงขยายวงไปทั่ว มีผู้ประท้วงโดยการเผาตัวตายหลายต่อหลายคน ขณะเดียวกันทางสหรัฐเองก็เริ่มไม่พอใจในการปกครองของ โงดินเดียมห์ ที่นับวันจะไร้ประสิทธิภาพ และไม่ส่งผลดีต่อการทำสงครามต่อต้านฝ่ายคอมมิวนิสต์ ดังนั้นในปี ค.ศ. 1963 ประธานาธิบดี จอห์น เอฟเคนเนดี้ ของสหรัฐจึงให้ฝ่ายทหารของเวียดนามใต้ทำการรัฐประหาร โค่นรัฐบาลโงดินเดียมห์ลง จากนั้นฝ่ายก่อการก็สังหารโงดินเดียมห์เสียในปีเดียวกัน 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ john f.kennedy

John F. Kennedy ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 35

นับแต่นั้นมา อำนาจการปกครองเวียดนามใต้ก็อยู่ในมือของคณะนายทหารภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐ พร้อมๆ กับสงครามทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยสหรัฐได้เพิ่มการช่วยเหลือทางทหารให้แก่เวียตนามใต้และส่งกองบินทิ้งระเบิดไปโจมตีเวียดนามเหนือและเขตยึดครองของฝ่ายเวียตกงในเวียดนามใต้ นอกจากนี้ สภาคองเกรสยังมีมติให้ส่งหน่วยนาวิกโยธินขึ้นบกที่เวียดนามใต้และเข้าร่วมรบโดยตรง จนในที่สุดก็มีกองทหารสหรัฐทำการรบในเวียตนามมากถึง 540,000 คน
ระหว่างที่สงครามดำเนินไปนั้น กองกำลังของเวียดนามเหนือ และ
เวียดกงบางส่วนได้เข้าไปตั้งมั่นระหว่างพรมแดนเวียดนามกับกัมพูชาและลาว ทำให้สงครามขยายเขตเข้าไปในสองประเทศนี้ด้วย ซึ่งในช่วงปลาย
ของสงครามเวียดนาม กองบินทิ้งระเบิดสหรัฐได้ระดมทิ้งระเบิดในเขตภาคเหนือของลาวและบริเวณพรมแดนเวียดนามกับกัมพูชาอย่างหนัก เพื่อสกัดกั้นเส้นทางลำเลียงของฝ่ายคอมมิวนิสต์ แต่ก็ได้ผลสำเร็จไม่มากนัก
ในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1968 กองทัพเวียดนามเหนือและกองกำลัง
เวียดกงได้ทำการรุกใหญ่ โดยเข้าโจมตีเมืองต่างๆ ทั่วเวียดนามใต้ รวมทั้งกรุงไซง่อนไปพร้อมๆ กัน ทว่าภายในไม่กี่สัปดาห์ กองทัพฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็ถูกผลักดันให้ถอยกลับพร้อมกับสูญเสียกำลังพลไปเป็นจำนวนมหาศาล
อย่างไรก็ตาม แม้ฝ่ายเวียดนามเหนือจะพ่ายแพ้ในครั้งนี้ ทว่าการรุกใหญ่ในปี ค.ศ. 1968 ก็กลายเป็นจุดเปลี่ยนของสงครามเนื่องจากฝ่ายสหรัฐเริ่มผลักภาระการทำสงครามให้กับกองทัพเวียดนามใต้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ho chi minh

Ho Chi Minh นักปฏิวัติชาวเวียดนาม

ใน ปี.ค.ศ. 1969 ประธานาธิบดี โฮจิมินห์ ผู้นำฝ่ายเวียดนามเหนือได้ถึงแก่อสัญกรรมและเมื่อถึง ปี ค.ศ.1973 กองทหารสหรัฐกลุ่มสุดท้ายก็ถอนกำลังออกจากเวียดนามใต้ ทว่าสงครามเวียดนามยังดำเนินต่อมาอีกสองปี
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สงครามเวียดนาม
จนกระทั่งกองทัพเวียดนามเหนือและกองกำลังเวียดกงยกพลเข้ายึดกรุงไซง่อน เมืองหลวงของเวียดนามใต้ ได้ในเดือน เมษายน ปี ค.ศ. 1975 สงครามเวียดนาม ก็สิ้นสุดลง

สงครามเกาหลี

สงครามเกาหลี

สงครามระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ( เกาหลีเหนือ )
กับ
สาธารณรัฐเกาหลี ( เกาหลีใต้ )

สงครามเกาหลี เป็นความขัดแย้งทางทหารระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) กับสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) โดยเกาหลีเหนือได้รับการสนับสนุนทางการทหารจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพโซเวียต ส่วนเกาหลีใต้ได้รับความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ โดยเริ่มตั้งแต่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2493) จนถึงการลงนามในสัญญาหยุดยิงของทั้งสองฝ่ายเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1953 (พ.ศ. 2496) สงครามครั้งนี้เป็นผลมาจากการแบ่งแยกประเทศเกาหลีทางการเมืองด้วยข้อตกลงของฝ่ายสัมพันธมิตรในการปลดอาวุธกองทัพญี่ปุ่นเมื่อสิ้นสุดสงครามมหาเอเชียบูรพา กล่าวคือ บริเวณคาบสมุทรเกาหลีอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิญี่ปุ่นนับตั้งแต่ ค.ศ. 1910 จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นประกาศยอมจำนนต่อสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1945 นั้น คณะผู้บริหารญี่ปุ่นฝ่ายอเมริกาได้แบ่งให้กองทัพสหรัฐอเมริกาเข้าปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในเขตตั้งแต่เส้นขนานที่ 38 องศาเหนือลงมา ส่วนบริเวณที่อยู่เหนือเส้นขนานที่ 38 องศาเหนือนั้นอยู่ในความควบคุมของสหภาพโซเวียต
ความล้มเหลวในการจัดการเลือกตั้งอย่างเสรีในคาบสมุทรเกาหลีในปี ค.ศ. 1948 ทำให้ความแตกแยกของประเทศเกาหลีทั้งสองฝั่งร้าวลึก ประเทศเกาหลีฝั่งเหนือได้จัดตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ขึ้น เส้นขนานที่ 38 องศาเหนือได้กลายเป็นเส่นแบ่งแดนระหว่างทั้งสองเกาหลีไปโดยปริยาย แม้การเจรจาเพื่อการรวมชาติจะดำเนินต่อไปในช่วงหลายเดือนก่อนเกิดสงครามก็ตาม แต่สถานการณ์ยังคงตึงเครียด ยังคงมีการรบพุ่งและการปล้นสะดมตามแนวตะเข็บชายแดน สถานการณ์ได้บานปลายไปสู่การทำสงครามแบบเปิดเผยเมื่อเกาหลีเหนือส่งกองทัพบุกเข้าสู่เกาหลีใต้ในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1950 การรุกดังกล่าวกลายเป็นความขัดแย้งทางทหารครั้งสำคัญครั้งแรกที่เกิดขึ้นในยุคสงครามเย็น
องค์การสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือสหรัฐอเมริกา ได้ยื่นมือให้ความช่วยเหลือเกาหลีใต้ในการขับไล่ผู้รุกราน หลังจากในช่วงต้นสงคราม สหประชาชาติได้ทำการส่งกองกำลังเข้ามาขับไล่กองทัพเกาหลีเหนือจนถอยร่นจากเส้นขนานที่ 38 จนเกือบถึงแม่น้ำยาลู สาธารณรัฐประชาชนจีนจึงได้ประกาศให้ความช่วยเหลือกองทัพคอมมิวนิสต์ของเกาหลีเหนือ การต่อต้านการรุกรานเกาหลีเหนือโดยกองทัพจีนทำให้ฝ่ายสหประชาชาติต้องถอยร่นกลับมาที่แนวเส้นขนานที่ 38 ด้านสหภาพโซเวียตได้ให้การช่วยเหลือจีนและเกาหลีเหนือด้วยการสนับสนุนด้านอาวุธ ภัยคุกคามจากสงครามนิวเคลียร์ได้ยุติลงในการลงนามในสัญญาหยุดยิงซึ่งกำหนดให้ทั้งสองเกาหลีคงเขตแดนของตนไว้ตามแนวเส้นขนานที่ 38 องศาเหนือ และกำหนดเขตปลอดทหาร (DMZ) ในระยะ 2.5 ไมล์ (4 กม.) เป็นกันชนตามแนวพรมแดนของทั้งสองประเทศ
ระหว่างสงคราม ทั้งเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ต่างก็ได้รับการสนับสนุนจากชาติมหาอำนาจ ทำให้สงครามดังกล่าวแปรสภาพจากสงครามกลางเมืองไปสู่สงครามตัวแทนระหว่างขั้วอำนาจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสงครามเย็น ในมุมมองของวิทยาศาสตร์การทหาร (military science) สงครามเกาหลีเป็นการผสานแผนยุทธการและยุทธวิธีของทั้งสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 กล่าวคือ ใช้วิธีการจู่โจมอย่างรวดเร็วด้วยทหารราบและสนับสนุนด้วยการจู่โจมทางอากาศเพื่อทิ้งระเบิดในทางยุทธวิธี การปฏิบัติการรบแบบเคลื่อนที่ได้เปลี่ยนไปสู่การทำสงครามสนามเพลาะนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1951 จนกระทั่งถึงช่วงคุมเชิงและทำสัญญาหยุดยิงในปี ค.ศ. 1953

ประวัติ

สงครามเกาหลี

ประเทศเกาหลีโดนยึดครองโดยประเทศญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ ประเทศเกาหลีได้รับอิสระ สหรัฐอเมริกาได้ช่วยญี่ปุ่นในการฟื้นฟูดินแดน เนื่องด้วยเกาหลีอยู่ติดกับประเทศอื่นๆรอบด้าน โดยด้านเหนือของเกาหลีติดกับประเทศจีน และทางใต้ติดกับญี่ปุ่นซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของอเมริกานั้น การปกครองที่แตกต่างของประเทศรอบด้านจึงเข้ามามีอิทธิพลต่อประเทศเล็กๆที่อยู่ตรงกลางระหว่างมหาอำนาจ จีนและสหภาพโซเวียดที่มีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ญี่ปุ่นและอเมริกาที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย เกาหลีที่ซึ่งได้รับอิสรภาพ จำเป็นต้องมีผู้นำ แต่หากว่าประชากรที่มีในขณะนั้นมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป ส่วนที่ติดกับจีนก็เห็นว่าการปกครองแบบคอมมิวนิสต์เป็นสิ่งที่ดี แต่อีกด้านที่อยู่ติดกับญี่ปุ่นและอเมริกาก็เห็นว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยดี จึงเป็นเหตุให้เกิดการแบ่งแยกการปกครองออกเป็นสองแบบ คือแบบคอมมิวนิสต์และประชาธิปไตย เมื่อเกาหลีทั้งสองชาติมีความเห็นที่ต่างกันแล้ว เกาหลีที่รับการปกครองแบบคอมมิวนิสต์มานั้น มีความต้องการอยากที่จะให้เกาหลีที่มีการปกครองที่ต่างกันมีการรวมชาติให้เป็นหนึ่งเดียวกัน จึงส่งกำลังทหารเข้ายึดเกาหลีส่วนที่รับการปกครองแบบประชาธิปไตย ด้วยวิธีการรวมชาติแบบที่ผิดไป จึงทำให้เกิดสงครามเกาหลีขึ้น จึงเป็นเหตุให้เกาหลีแบ่งออกเป็นสองส่วน คือเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ โดยมีเส้นแบ่งอยู่ที่เส้นขนานที่ 38

สงครามเริ่มต้น

วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ทหารฝ่ายเกาหลีเหนืออาศัยอาวุธยุทโธปกรณ์ของโซเวียตบุกข้ามเส้นขนานที่ 38 ลงมา วันที่ 28 มิถุนายน ก็สามารถยึดกรุงโซลได้ สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน ได้สั่งการให้นายพลดักลาส แมกอาร์เทอร์ ผู้บัญชาการภาคพื้นแปซิฟิกในขณะนั้น ให้ทำการตอบโต้
วันที่ 5 กรกฎาคม ปีเดียวกัน กองทัพสหรัฐได้บุกเข้าสู่เกาหลีเหนือ
สหประชาชาติได้ลงมติให้ยกกองกำลังเข้าช่วยเหลือเกาหลีใต้ กองกำลังสหรัฐอเมริกาจึงเข้าร่วมกับกองกำลังของสหประชาชาติ ซึ่งประกอบด้วยกองกำลังของอีก 15 ชาติ (รวมประเทศไทย) ในตอนแรกนั้นดูเหมือนว่าฝ่ายสหประชาชาตินั้นจะเป็นฝ่ายที่ถอยร่นมาโดยตลอดเป็นเพราะทางสหรัฐมีการดำเนินนโยบายยุโรปก่อนจึงให้กำลังพลกับแมคอาเทอร์ไม่เต็มที่ ซึ่งทำให้แมคอาเทอร์โกรธมากจึงออกคำสั่งให้นำกำลังพลอเมริกันในแปซิฟิกมาใช้ก่อน หลังจากที่สหรัฐเริ่มให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เกาหลีเหนือก็ได้แต่ถอยร่นจนไปถึงเส้นขนานที่ 38

สงครามเย็น

สงครามเย็น
ความหมายของสงครามเย็น
สงครามเย็น หมายถึง สงครามที่มหาอำนาจทั้งสองทำการต่อสู้กัน โดยใช้เครื่องหมายทุกอย่าง ยกเว้นอาวุธปรมาณู หรือหมายถึงความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย โดยไม่ใช้อาวุธต่อสู้กันโดยตรง แต่ใช้วิธีการโฆษณาชวนเชื่อการแทรกซึมบ่อนทำลาย การประนาม การแข่งขันกันสร้างกำลังอาวุธ และแสวงหาอิทธิพลในประเทศเล็ก
สาเหตุของสงครามเย็น
สงครามเย็นมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจทั้งสอง ที่ยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ และความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์และเขตอิทธิพล เพื่อครองความเป็นผู้นำของโลก โดยพยายามแสวงหาผลประโยชน์และเขตอิทธิพลในประเทศต่าง ๆ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่ผู้ยิ่งใหญ่หรือผู้นำทางการเมืองของโลกในสมัยก่อน คือ อังกฤษ เยอรมัน ได้หมดอำนาจในภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ลักษณะของสงครามเย็น
  • 1.การแข่งขันสร้างพันธมิตรทางทหาร
  • 2.การแข่งขันด้านอุดมการณ์
  • 3.การแข่งขันด้านเทคโนโลยี (ด้านอวกาศ การทหาร)
  • 4.การทำสงครามตัวแทน

herry
The ‘Truman Doctrine’
ลัทธิทรูแมน : นโยบายที่อเมริกาสนับสนุนรัฐบาลกรีซ และตุรกีโดยให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหาร เพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศทั้ง 2 อยู่ภายใต้อิทธิพลของโซเวียต
สหรัฐอเมริกาจะโต้ตอบการคุกคามของประเทศคอมมิวนิสต์ทุกรูปแบบและทุกสถานที่ และตามที่สหรัฐ  จะเห็นสมควร โดยไม่จำกัด ขนาด เวลา และสถานที่
แฮร์รี เอส ทรูแมน
The ‘Marshall Plan’
แผนการที่อเมริกาประกาศจะทุ่มเงินมหาศาลช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจทุกๆประเทศในยุโรปตะวันตก เพื่อเป็นการต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์และถ่วงดุลอำนาจยุโรป
The ‘Molotou Plan’
แผนการที่โซเวียตประกาศจะทุ่มเงินมหาศาลช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจทุกๆประเทศในยุโรปที่บอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเป็นการต่อต้านการขยายตัวของประชาธิปไตย
วิกฤตการณ์เบอร์ลิน
zs
เบอร์ลินเป็นชื่อเมืองหลวงของเยอรมัน หลัง WW.I เยอรมันถูก 
4 มหาอำนาจแบ่งยึดครอง คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา และรัสเซีย แต่เยอรมันฝั่งตะวันออกเป็นของรัสเซียซึ่งปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ และเยอรมันฝั่งตะวันตกเป็นประชาธิปไตย ทำให้ประชาชนอพยพย้ายไปอยู่เยอรมันฝั่งตะวันตก ทำให้รัสเซียสร้างกำแพงเบอร์ลินขึ้นมาปิดล้อม
zuกำแพงเบอร์ลิน
Cuban Missile Crisis (1962) วิกฤตการณ์คิวบา
zv
คิวบาเป็นประเทศเล็กๆที่อยู่ในทะเลแคริบเบียน ผู้นำคิวบาคือ บาติสตา (ประธานาธิบดี) ซึ่งบาติสตาผูกความสัมพันธ์กับอเมริกา
ต่อมาบาติสตาถูกนายฟีเดล คาสโตรปฏิวัติยึดอำนาจเปลี่ยนคิวบาให้กลายเป็นคอมมิวนิสต์ ผูกพันกับรัสเซียแทนอเมริกา ซึ่งภายหลังดาวเทียมของอเมริกาพบว่ารัสเซียได้นำจรวดนำวิถีมาติดตั้งที่คิวบา จอห์น เอฟ เคเนดี้ประธานาธิบดีของอเมริกาสั่งให้คิวบาถอนจรวดออกภายใน 30 วัน คิวบาไม่ปฏิบัติตามและส่งจรวดนำวิถีมาติดตั้งเพิ่มอีก สร้างความไม่พอใจให้กับอเมริกา จึงสั่งกองเรือรบ 180 ลำปิดทะเลแคริบเบียน และสั่งให้คิวบาถอนฐานจรวดภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งคิวบา และรัสเซียยอมปฏิบัติตามคำสั่งของอเมริกา สงครามระหว่างอเมริกา รัสเซียและคิวบา จึงไม่เกิดขึ้น
สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ
zy
สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ  (The North Atlantic Treaty Organization) หรือ NATO
คือ การรวมกลุ่มทางการทหารที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อต่อต้านการรุกรานจากฝ่ายคอมมิวนิสต์
สนธิสัญญาวอร์ซอ
สนธิสัญญาวอร์ซอ  (Warsaw Pact Treaty Organization) หรือ Warsaw Pact
คือ การรวมกลุ่มทางการทหารที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อต่อต้านการรุกรานจากฝ่ายประชาธิปไตย
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
EEC (Europe Economic Cooperation) เป็นการร่วมมือทางเศรษฐกิจของกลุ่มเสรีนิยมประชาธิปไตยยุโรป ต่อมาภายหลังเป็นชื่อเป็น European Union : EU
COMECON เป็นการร่วมมือทางเศรษฐกิจของกลุ่มคอมมิวนิสต์ ต่อมาภายหลังCOMECON ถูกยกเลิกไปเพราะสหภาพโซเวียตล่มสลายทางเศรษฐกิจ
โครงการอวกาศ   Sputnik I (1957)
zz ดาวเทียมดวงแรกที่ส่งไปโคจรอวกาศสำเร็จ คือ Spukig ในปี พ.ศ.2500 ทำให้ จอห์น เอฟ เคเนดี้กล่าวว่า “อเมริกาจะส่งมนุษย์ ไปลงดวงจันทร์ให้ได้ภายใน 10 ปี”
ในปี 2501 อเมริกา ได้ส่งดาวเทียมไปโคจรรอบโลกสำเร็จ อเมริกาก่อตั้ง NASA เป็นการสำรวจอวกาศ และใช้ชื่อย่อย เรียกว่า โครงการ Apollow เพื่อส่งมนุษย์ไปลงดวงจันทร์ ซึ่งต่อมาอเมริกาได้ส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ได้สำเร็จ คือ Neal Armstrong ด้วยยาน Apollw 11 ในปี พ.ศ.2512
เมื่อรัสเซียเห็นว่าอเมริกาก้าวหน้าทางโครงการอวกาศจึงทุ่มเงินมหาศาลพัฒนาโครงการ Meer แต่สุดท้ายโครงการ Meer ต้องยุติลงเพราะรัสเซียประสบปัญหาการล่มสลายทางเศรษฐกิจ
zz3zz4zz5
สงครามตัวแทน
สงครามเวียตนาม ค.ศ.  1960 -1975
zz6
1941 ได้เกิดขบวนการเวียดมินห์เพื่อขับไล่ฝรั่งเศส โดยมีผู้ที่มีสมญาว่า โฮจิมินห์ เป็นผู้นำ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เวียดมินห์ยึดเดียนเบียนฟูได้ ฝรั่งเศสกับเวียดนามก็ได้ทำสัญญาสงบศึกที่กรุงเจนีวา เมื่อปี 1954 เรียกว่า อนุสัญญาเจนีวา

อนุสัญญาเจนีวา
  • มีสาระสำคัญคือ ให้แบ่งเวียดนามออกเป็นสองส่วน คือ เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ โดยใช้เส้นรุ้งที่ ๑๗ เหนือ ซึ่งผ่านเมืองกวางตรี ตามแนวแม่น้ำเบนไฮ เป็นเส้นแบ่งเขตแดน 
  • ประธานาธิบดี จอห์นสัน ของสหรัฐฯ ได้ตัดสินใจทำสงครามโดยเปิดเผยระหว่างสหรัฐฯ และเวียดนามเหนือ จึงเริ่มต้นตั้งแต่กุมภาพันธ์ 1965
  • ฝ่ายประชาธิปไตยที่ให้ความช่วยเหลือเวียดนามใต้
  • ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สเปน ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และไทย
ทฤษฎีโดมิโน ความหมายคือ ทฤษฎีที่ยกอุทาหรณ์จากเกมไพ่ต่อแต้ม ซึ่งถ้ามีไพ่ล้มหนึ่งใบ ไพ่ใบอื่น ๆ จะล้มเป็นแถบติดต่อเป็นลูกโซ่ เกิดจากความเชื่อถือที่ว่า เมื่อประเทศใดตกอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์จะทำให้ประเทศอื่น ๆ กลายเป็นคอมมิวนิสต์ไปด้วย
ทฤษฎีการสกัดกั้น นายจอห์น ฟอสเตอร์ ดัลเลส (John Foster Dulles) อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีทฤษฎีต่อต้านทฤษฎีโดมิโน คือ ทฤษฎีการสกัดกั้น (Containment Policy)

ผู้นำสหรัฐอเมริกา
จอห์น เอฟ. เคนเนดี
1961-1963
zz7
ลินดอน บี. จอห์นสัน
1963-1969
zz8ริชาร์ดนิกสัน
1969-1974
zz9
ภาพประวัติศาสตร์จากสงครามเวียดนาม
zz10zz11zz12zz13zz14zz15zz16zz17
การสิ้นสุดสงคราม
สหรัฐฯ และชาติพันธมิตรฝ่ายโลกเสรีได้ถอนกำลังทั้งหมด ออกจากเวียดนามใต้ กองทัพเวียดนามเหนือและเวียดกงเข้ายึดกรุงไซ่ง่อนได้เมื่อ ๓๐ เมษายน ๒๕๑๘ และเวียดนามเหนือสามารถรวมเวียดนามใต้เข้าด้วยกัน เมื่อ ๓ กรกฎาคม ๒๕๑๘ และประกาศใช้ชื่อประเทศใหม่ว่า สาธารณรัฐเวียดนาม
สงครามเกาหลี
zz18
 สงครามเกาหลี เป็นสงครามระหว่าง เริ่มตั้งแต่ 25 มิ.ย. 1950 – 27 ก.ค.1953 เป็นหนึ่งในสงครามตัวแทน ช่วงสงครามเย็น
เกาหลีเหนือใช้ยุทโธปกรณ์ของโซเวียตบุกข้ามเส้นขนานที่ 38 ลงมา สามารถยึด กรุงโซลได้ สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน ได้สั่งการให้นายพลดักลาส  แมกอาร์เธอร์ ผู้บัญชาการภาคพื้นแปซิฟิกในขณะนั้น ให้ทำการตอบโต้
กองทัพอเมริกันบุกเกาหลีเหนือถึงแม่น้ำยาลู ชายแดนระหว่างเกาหลีเหนือกับจีน  โซเวียตให้ความช่วยเหลือ  จีนปะทะกับทหารอเมริกัน กองทัพจีนก็ล่าถอยไปอยู่ในเทือกเขา กองทัพสหประชาชาติบุกข้ามแม่น้ำยาลู
zz20
กองทัพจีนโอบล้อมกองทัพของพวกนานาชาติแถบอ่างเก็บน้ำโชสิน (Chosin Reservoir)
zz21
นักโทษที่อายุน้อยที่สุดในค่ายกักกันเมืองโกเจ โด  เกาหลี 1953
z22
หมู่บ้านปันมุนจอง ที่มีการเซ็นสัญญาหยุดยิง
แลกเปลี่ยนเชลยศึก
ผลของสงคราม
  • ฝ่ายเกาหลีเนือเสียชีวิตในสงครามทั้งหมด 1,066,000 นาย ส่วนฝ่ายเกาหลีใต้เสียชีวิตประมาณ 941,356–1,139,518 นาย
  • ทหารฝ่ายไทยจำนวน 1,294 นาย
  • การสิ้นสุดของสงครามเกาหลี
  • 2 กันยายน 1976 ลงนามระหว่างเกาหลีเหนือกับสหประชาชาติ แบ่งเขตแดนระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้อย่างเป็นทางการ
  • การสิ้นสุดสงครามเย็น
zz23
สหภาพโซเวียตในยุคที่มิคกาฮิล กอร์บาซอฟ (Mikhail Gorbachev) เป็นผู้นำได้ดำเนินการปฎิรูปบ้านเมืองหลายด้าน และเป็นจุดเริ่มต้นทำให้สภาวะสงครามเย็นเริ่มคลี่คลายตัวลง สรุปได้ดังนี้
  1. การใช้นโยบายปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตให้เป็นเสรีประชาธิปไตยมากขึ้นในปี ค.ศ. 1985 เรียกว่า “นโยบายเปิด-ปรับ” หรือกลาสนอสต์-เปเรสทรอยกา
  2. การรวมเยอรมนีตะวันออกเข้ากับตะวันตกเป็นประเทศเดียวกันได้สำเร็จใน ค.ศ. 1990
  3. การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ.1991 คือการยุติการรวมตัวเป็นสหภาพโซเวียตของ 15 สาธารณรัฐและทำให้เกิดรัฐเอกราช 15 ประเทศ สาเหตุของการล้มสลายของสหภาพโซเวียต คือ ปัญหาเงินเฟ้อและความตกต่ำทางเศรษฐกิจ และปัญหาการเมืองภายใน
  4. การก่อรัฐประหารเพื่อโค่นล้มรัฐบาลของพวกคอมมิวนิสต์หัวเก่า

ความเปลี่ยนแปลงภายหลังสิ้นสุดยุคสงครามเย็น
ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจภายหลังการสิ้นสุดสงครามเย็น นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 เป็นต้นมา บรรยากาศความตึงเครียดของโลกในยุคสงครามเย็น ได้สิ้นสุดลง มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญคือ ประเทศคอมมิวนิสต์เริ่มปรับตัวเข้าสู่วิถีทางของระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น และเปลี่ยนมาใช้ระบบเศรษฐกิจแบบการตลาดหรือทุนนิยมเสรีตามอย่างโลกตะวันตก ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจของโลกภายหลังการสิ้นสุดยึดสงครามเย็น มีดังนี้
  1. การเกิดสาธารณรัฐเอกราช 15 ประเทศ ได้แก่ รัสเซีย ยูเครน ลัตเวีย เอสโตเนีย ลิทัวเนีย เบลารุส มอลโดวา อุซเบกิสสถาน อาร์เมเนีย ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสสถาน คาซัคสถาน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน และคีร์กีซสถาน
  2. การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในยุโรปตะวันออก

  • 2.1 การล่มสลายของสหพันธรัฐยูโกสลาเวีย รัฐต่างๆได้แยกตัวเป็นประเทศเอกราช
  • 2.2 โปแลนด์ เป็นชาติแรกในยุโรปที่มีการปฏิรูประบอบการเมืองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย และเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมมาเป็นระบบตลาดเสรีเหมือนอย่างประเทศตะวันตก
  • 2.3 ฮังการี มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจทำนองเดียวกับโปแลนด์ ในปี ค.ศ. 1991
  • 2.4 เชโกสโลวะเกีย ในเดือนมกรา ค.ศ. 1993 เชโกสโลวะเกียประกาศแยกออกเป็น 2 ประเทศคือ สาธารณรัฐเช็ก และสาธารณรัฐสโลวะเกีย
  • 2.5 เยอรมนีตะวันออก รวมกับเยอรมนีตะวันตกใน ค.ศ. 1990 ภายใต้ชื่อประเทศ “สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี” ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยและใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือระบบการตลาด

     3. การเปิดประเทศของจีน ในปี ค.ศ. 1992 จีนประกาศนโยบายปฎิรูประบบเศรษฐกิจให้เป็นระบบ      ตลาดเสรี ส่งเสริมการลงทุนของนักธุรกิจต่างชาติ
สหภาพโซเวียต
zz24
ประเทศที่แยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต 15 ประเทศได้แก่
  1. รัสเซีย – สหพันธรัฐรัสเซีย Russian Federation (Russian SFSR)เมืองหลวง คือ มอสโก
  2. ยูเครน Ukrainian SSRเมืองหลวง คือ เคียฟ Kiev
  3. อาร์เมเนีย Armenian SSRเมืองหลวง คือ เยราวาน Yerevan
  4. เบลารุส Byelorussian SSR เมืองหลวง คือ มินสก์ Minsk
  5. จอร์เจีย Georgian SSR เมืองหลวง คือ ทบีลีซี Tbilisi
  6. มอลโดวา Moldavian SSR เมืองหลวง คือ คีนีเนฟ Chişinău
  7. คาซัคสถาน Kazakh SSR เมืองหลวง คือ อัลมา-อาตา Alma-Ata
  8. อุซเบกิสถาน Uzbek SSR เมืองหลวง คือ ทัสเคนต์ Tashkent
  9. เติร์กเมนิสถาน Turkmen SSR เมืองหลวง คือ อัชกาบาด Ashgabat
  10. คีร์กิซสถาน Kirghiz SSR เมืองหลวง คือ ฟรุณซ์ Frunze
  11. ทาจิกิสถาน Tajik SSRเมืองหลวง คือ ดูซัมบี Dushanbe
  12. อาเซอร์ไบจาน Azerbaijan SSRเมืองหลวง คือ บากู Baku
  13. เอสโตเนีย* Estonian SSRเมืองหลวง คือ ทัลลินา Tallinn
  14. แลตเวีย*Latvian SSR เมืองหลวง คือ ริกา Riga
  15. ลิธัวเนีย*Lithuanian SSR เมืองหลวง คือ วิลนิอุส Vilnius