สงครามเย็น
ความหมายของสงครามเย็น
สงครามเย็น หมายถึง สงครามที่มหาอำนาจทั้งสองทำการต่อสู้กัน โดยใช้เครื่องหมายทุกอย่าง ยกเว้นอาวุธปรมาณู หรือหมายถึงความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย โดยไม่ใช้อาวุธต่อสู้กันโดยตรง แต่ใช้วิธีการโฆษณาชวนเชื่อการแทรกซึมบ่อนทำลาย การประนาม การแข่งขันกันสร้างกำลังอาวุธ และแสวงหาอิทธิพลในประเทศเล็ก
สาเหตุของสงครามเย็น
สงครามเย็นมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจทั้งสอง ที่ยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ และความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์และเขตอิทธิพล เพื่อครองความเป็นผู้นำของโลก โดยพยายามแสวงหาผลประโยชน์และเขตอิทธิพลในประเทศต่าง ๆ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่ผู้ยิ่งใหญ่หรือผู้นำทางการเมืองของโลกในสมัยก่อน คือ อังกฤษ เยอรมัน ได้หมดอำนาจในภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ลักษณะของสงครามเย็น
- 1.การแข่งขันสร้างพันธมิตรทางทหาร
- 2.การแข่งขันด้านอุดมการณ์
- 3.การแข่งขันด้านเทคโนโลยี (ด้านอวกาศ การทหาร)
- 4.การทำสงครามตัวแทน
The ‘Truman Doctrine’
ลัทธิทรูแมน : นโยบายที่อเมริกาสนับสนุนรัฐบาลกรีซ และตุรกีโดยให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหาร เพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศทั้ง 2 อยู่ภายใต้อิทธิพลของโซเวียต
สหรัฐอเมริกาจะโต้ตอบการคุกคามของประเทศคอมมิวนิสต์ทุกรูปแบบและทุกสถานที่ และตามที่สหรัฐ จะเห็นสมควร โดยไม่จำกัด ขนาด เวลา และสถานที่
แฮร์รี เอส ทรูแมน
แฮร์รี เอส ทรูแมน
The ‘Marshall Plan’
แผนการที่อเมริกาประกาศจะทุ่มเงินมหาศาลช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจทุกๆประเทศในยุโรปตะวันตก เพื่อเป็นการต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์และถ่วงดุลอำนาจยุโรป
The ‘Molotou Plan’
แผนการที่โซเวียตประกาศจะทุ่มเงินมหาศาลช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจทุกๆประเทศในยุโรปที่บอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเป็นการต่อต้านการขยายตัวของประชาธิปไตย
วิกฤตการณ์เบอร์ลิน

เบอร์ลินเป็นชื่อเมืองหลวงของเยอรมัน หลัง WW.I เยอรมันถูก 4 มหาอำนาจแบ่งยึดครอง คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา และรัสเซีย แต่เยอรมันฝั่งตะวันออกเป็นของรัสเซียซึ่งปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ และเยอรมันฝั่งตะวันตกเป็นประชาธิปไตย ทำให้ประชาชนอพยพย้ายไปอยู่เยอรมันฝั่งตะวันตก ทำให้รัสเซียสร้างกำแพงเบอร์ลินขึ้นมาปิดล้อม
Cuban Missile Crisis (1962) วิกฤตการณ์คิวบา
คิวบาเป็นประเทศเล็กๆที่อยู่ในทะเลแคริบเบียน ผู้นำคิวบาคือ บาติสตา (ประธานาธิบดี) ซึ่งบาติสตาผูกความสัมพันธ์กับอเมริกา
ต่อมาบาติสตาถูกนายฟีเดล คาสโตรปฏิวัติยึดอำนาจเปลี่ยนคิวบาให้กลายเป็นคอมมิวนิสต์ ผูกพันกับรัสเซียแทนอเมริกา ซึ่งภายหลังดาวเทียมของอเมริกาพบว่ารัสเซียได้นำจรวดนำวิถีมาติดตั้งที่คิวบา จอห์น เอฟ เคเนดี้ประธานาธิบดีของอเมริกาสั่งให้คิวบาถอนจรวดออกภายใน 30 วัน คิวบาไม่ปฏิบัติตามและส่งจรวดนำวิถีมาติดตั้งเพิ่มอีก สร้างความไม่พอใจให้กับอเมริกา จึงสั่งกองเรือรบ 180 ลำปิดทะเลแคริบเบียน และสั่งให้คิวบาถอนฐานจรวดภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งคิวบา และรัสเซียยอมปฏิบัติตามคำสั่งของอเมริกา สงครามระหว่างอเมริกา รัสเซียและคิวบา จึงไม่เกิดขึ้น
สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ
สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (The North Atlantic Treaty Organization) หรือ NATO
คือ การรวมกลุ่มทางการทหารที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อต่อต้านการรุกรานจากฝ่ายคอมมิวนิสต์
สนธิสัญญาวอร์ซอ
สนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact Treaty Organization) หรือ Warsaw Pact
คือ การรวมกลุ่มทางการทหารที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อต่อต้านการรุกรานจากฝ่ายประชาธิปไตย
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
EEC (Europe Economic Cooperation) เป็นการร่วมมือทางเศรษฐกิจของกลุ่มเสรีนิยมประชาธิปไตยยุโรป ต่อมาภายหลังเป็นชื่อเป็น European Union : EU
COMECON เป็นการร่วมมือทางเศรษฐกิจของกลุ่มคอมมิวนิสต์ ต่อมาภายหลังCOMECON ถูกยกเลิกไปเพราะสหภาพโซเวียตล่มสลายทางเศรษฐกิจ
โครงการอวกาศ Sputnik I (1957)

ในปี 2501 อเมริกา ได้ส่งดาวเทียมไปโคจรรอบโลกสำเร็จ อเมริกาก่อตั้ง NASA เป็นการสำรวจอวกาศ และใช้ชื่อย่อย เรียกว่า โครงการ Apollow เพื่อส่งมนุษย์ไปลงดวงจันทร์ ซึ่งต่อมาอเมริกาได้ส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ได้สำเร็จ คือ Neal Armstrong ด้วยยาน Apollw 11 ในปี พ.ศ.2512
เมื่อรัสเซียเห็นว่าอเมริกาก้าวหน้าทางโครงการอวกาศจึงทุ่มเงินมหาศาลพัฒนาโครงการ Meer แต่สุดท้ายโครงการ Meer ต้องยุติลงเพราะรัสเซียประสบปัญหาการล่มสลายทางเศรษฐกิจ
สงครามตัวแทน
สงครามเวียตนาม ค.ศ. 1960 -1975
1941 ได้เกิดขบวนการเวียดมินห์เพื่อขับไล่ฝรั่งเศส โดยมีผู้ที่มีสมญาว่า โฮจิมินห์ เป็นผู้นำ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เวียดมินห์ยึดเดียนเบียนฟูได้ ฝรั่งเศสกับเวียดนามก็ได้ทำสัญญาสงบศึกที่กรุงเจนีวา เมื่อปี 1954 เรียกว่า อนุสัญญาเจนีวา
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เวียดมินห์ยึดเดียนเบียนฟูได้ ฝรั่งเศสกับเวียดนามก็ได้ทำสัญญาสงบศึกที่กรุงเจนีวา เมื่อปี 1954 เรียกว่า อนุสัญญาเจนีวา
อนุสัญญาเจนีวา
- มีสาระสำคัญคือ ให้แบ่งเวียดนามออกเป็นสองส่วน คือ เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ โดยใช้เส้นรุ้งที่ ๑๗ เหนือ ซึ่งผ่านเมืองกวางตรี ตามแนวแม่น้ำเบนไฮ เป็นเส้นแบ่งเขตแดน
- ประธานาธิบดี จอห์นสัน ของสหรัฐฯ ได้ตัดสินใจทำสงครามโดยเปิดเผยระหว่างสหรัฐฯ และเวียดนามเหนือ จึงเริ่มต้นตั้งแต่กุมภาพันธ์ 1965
- ฝ่ายประชาธิปไตยที่ให้ความช่วยเหลือเวียดนามใต้
- ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สเปน ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และไทย
ภาพประวัติศาสตร์จากสงครามเวียดนาม
การสิ้นสุดสงคราม
สหรัฐฯ และชาติพันธมิตรฝ่ายโลกเสรีได้ถอนกำลังทั้งหมด ออกจากเวียดนามใต้ กองทัพเวียดนามเหนือและเวียดกงเข้ายึดกรุงไซ่ง่อนได้เมื่อ ๓๐ เมษายน ๒๕๑๘ และเวียดนามเหนือสามารถรวมเวียดนามใต้เข้าด้วยกัน เมื่อ ๓ กรกฎาคม ๒๕๑๘ และประกาศใช้ชื่อประเทศใหม่ว่า สาธารณรัฐเวียดนาม
สงครามเกาหลี
สงครามเกาหลี เป็นสงครามระหว่าง เริ่มตั้งแต่ 25 มิ.ย. 1950 – 27 ก.ค.1953 เป็นหนึ่งในสงครามตัวแทน ช่วงสงครามเย็น
เกาหลีเหนือใช้ยุทโธปกรณ์ของโซเวียตบุกข้ามเส้นขนานที่ 38 ลงมา สามารถยึด กรุงโซลได้ สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน ได้สั่งการให้นายพลดักลาส แมกอาร์เธอร์ ผู้บัญชาการภาคพื้นแปซิฟิกในขณะนั้น ให้ทำการตอบโต้
กองทัพอเมริกันบุกเกาหลีเหนือถึงแม่น้ำยาลู ชายแดนระหว่างเกาหลีเหนือกับจีน โซเวียตให้ความช่วยเหลือ จีนปะทะกับทหารอเมริกัน กองทัพจีนก็ล่าถอยไปอยู่ในเทือกเขา กองทัพสหประชาชาติบุกข้ามแม่น้ำยาลู
กองทัพจีนโอบล้อมกองทัพของพวกนานาชาติแถบอ่างเก็บน้ำโชสิน (Chosin Reservoir)
นักโทษที่อายุน้อยที่สุดในค่ายกักกันเมืองโกเจ โด เกาหลี 1953
หมู่บ้านปันมุนจอง ที่มีการเซ็นสัญญาหยุดยิง
แลกเปลี่ยนเชลยศึก
แลกเปลี่ยนเชลยศึก
ผลของสงคราม
- ฝ่ายเกาหลีเนือเสียชีวิตในสงครามทั้งหมด 1,066,000 นาย ส่วนฝ่ายเกาหลีใต้เสียชีวิตประมาณ 941,356–1,139,518 นาย
- ทหารฝ่ายไทยจำนวน 1,294 นาย
- การสิ้นสุดของสงครามเกาหลี
- 2 กันยายน 1976 ลงนามระหว่างเกาหลีเหนือกับสหประชาชาติ แบ่งเขตแดนระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้อย่างเป็นทางการ
- การสิ้นสุดสงครามเย็น
สหภาพโซเวียตในยุคที่มิคกาฮิล กอร์บาซอฟ (Mikhail Gorbachev) เป็นผู้นำได้ดำเนินการปฎิรูปบ้านเมืองหลายด้าน และเป็นจุดเริ่มต้นทำให้สภาวะสงครามเย็นเริ่มคลี่คลายตัวลง สรุปได้ดังนี้
- การใช้นโยบายปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตให้เป็นเสรีประชาธิปไตยมากขึ้นในปี ค.ศ. 1985 เรียกว่า “นโยบายเปิด-ปรับ” หรือกลาสนอสต์-เปเรสทรอยกา
- การรวมเยอรมนีตะวันออกเข้ากับตะวันตกเป็นประเทศเดียวกันได้สำเร็จใน ค.ศ. 1990
- การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ.1991 คือการยุติการรวมตัวเป็นสหภาพโซเวียตของ 15 สาธารณรัฐและทำให้เกิดรัฐเอกราช 15 ประเทศ สาเหตุของการล้มสลายของสหภาพโซเวียต คือ ปัญหาเงินเฟ้อและความตกต่ำทางเศรษฐกิจ และปัญหาการเมืองภายใน
- การก่อรัฐประหารเพื่อโค่นล้มรัฐบาลของพวกคอมมิวนิสต์หัวเก่า
ความเปลี่ยนแปลงภายหลังสิ้นสุดยุคสงครามเย็น
ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจภายหลังการสิ้นสุดสงครามเย็น นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 เป็นต้นมา บรรยากาศความตึงเครียดของโลกในยุคสงครามเย็น ได้สิ้นสุดลง มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญคือ ประเทศคอมมิวนิสต์เริ่มปรับตัวเข้าสู่วิถีทางของระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น และเปลี่ยนมาใช้ระบบเศรษฐกิจแบบการตลาดหรือทุนนิยมเสรีตามอย่างโลกตะวันตก ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจของโลกภายหลังการสิ้นสุดยึดสงครามเย็น มีดังนี้
- การเกิดสาธารณรัฐเอกราช 15 ประเทศ ได้แก่ รัสเซีย ยูเครน ลัตเวีย เอสโตเนีย ลิทัวเนีย เบลารุส มอลโดวา อุซเบกิสสถาน อาร์เมเนีย ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสสถาน คาซัคสถาน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน และคีร์กีซสถาน
- การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในยุโรปตะวันออก
- 2.1 การล่มสลายของสหพันธรัฐยูโกสลาเวีย รัฐต่างๆได้แยกตัวเป็นประเทศเอกราช
- 2.2 โปแลนด์ เป็นชาติแรกในยุโรปที่มีการปฏิรูประบอบการเมืองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย และเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมมาเป็นระบบตลาดเสรีเหมือนอย่างประเทศตะวันตก
- 2.3 ฮังการี มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจทำนองเดียวกับโปแลนด์ ในปี ค.ศ. 1991
- 2.4 เชโกสโลวะเกีย ในเดือนมกรา ค.ศ. 1993 เชโกสโลวะเกียประกาศแยกออกเป็น 2 ประเทศคือ สาธารณรัฐเช็ก และสาธารณรัฐสโลวะเกีย
- 2.5 เยอรมนีตะวันออก รวมกับเยอรมนีตะวันตกใน ค.ศ. 1990 ภายใต้ชื่อประเทศ “สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี” ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยและใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือระบบการตลาด
3. การเปิดประเทศของจีน ในปี ค.ศ. 1992 จีนประกาศนโยบายปฎิรูประบบเศรษฐกิจให้เป็นระบบ ตลาดเสรี ส่งเสริมการลงทุนของนักธุรกิจต่างชาติ
สหภาพโซเวียต
ประเทศที่แยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต 15 ประเทศได้แก่
- รัสเซีย – สหพันธรัฐรัสเซีย Russian Federation (Russian SFSR)เมืองหลวง คือ มอสโก
- ยูเครน Ukrainian SSRเมืองหลวง คือ เคียฟ Kiev
- อาร์เมเนีย Armenian SSRเมืองหลวง คือ เยราวาน Yerevan
- เบลารุส Byelorussian SSR เมืองหลวง คือ มินสก์ Minsk
- จอร์เจีย Georgian SSR เมืองหลวง คือ ทบีลีซี Tbilisi
- มอลโดวา Moldavian SSR เมืองหลวง คือ คีนีเนฟ Chişinău
- คาซัคสถาน Kazakh SSR เมืองหลวง คือ อัลมา-อาตา Alma-Ata
- อุซเบกิสถาน Uzbek SSR เมืองหลวง คือ ทัสเคนต์ Tashkent
- เติร์กเมนิสถาน Turkmen SSR เมืองหลวง คือ อัชกาบาด Ashgabat
- คีร์กิซสถาน Kirghiz SSR เมืองหลวง คือ ฟรุณซ์ Frunze
- ทาจิกิสถาน Tajik SSRเมืองหลวง คือ ดูซัมบี Dushanbe
- อาเซอร์ไบจาน Azerbaijan SSRเมืองหลวง คือ บากู Baku
- เอสโตเนีย* Estonian SSRเมืองหลวง คือ ทัลลินา Tallinn
- แลตเวีย*Latvian SSR เมืองหลวง คือ ริกา Riga
- ลิธัวเนีย*Lithuanian SSR เมืองหลวง คือ วิลนิอุส Vilnius
ชอบๆๆๆๆ ดีๆๆ
ตอบลบได้ความรู้ ชอบมากค่ะ
ตอบลบมีประโยชน์มากค่ะ ทำให้ได้รู้ประวัติศาสตร์เพิ่มขึ้น
ตอบลบ